ระบบวิธีการหาคุณสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีตามธรรมชาติในประเทศไทย (Systematic Approach to Characterisation of NORM in Thailand)
งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประเภทอาจารย์ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ประจำปี ๒๕๕๗ เป็นการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีและการวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุกัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติที่สะสมตัวในกระบวนการผลิต ในผลิตภัณฑ์พลอยได้และในกากของเสียของอุตสาหกรรมแร่หนักและอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศไทย เป็นงานวิจัยประยุกต์ที่สำคัญยิ่ง ผลงานวิจัยนี้มีความโดดเด่น ๕ ประการ ด้วยกัน คือ
- เป็นงานวิจัยแรกที่ทำการพัฒนาระเบียบวิธีการอย่างเป็นระบบเพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของปริมาณธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์และกากของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้สินแร่จากธรรมชาติของประเทศไทย และระเบียบวิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นต้นแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้องได้
- เป็นงานวิจัยแรกในโลกที่ออกแบบวิธีการเก็บตัวอย่างก๊าซธรรมชาติโดยตรงจากท่อผลิตก๊าซธรรมชาติโดยใช้ถ่านกัมมันต์เป็นวัสดุดูดซับธาตุกัมมันตรังสีเรดอนเพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณธาตุกัมมันตรังสีเรดอนในห้องปฏิบัติการและได้รับการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับนานาชาติ
- งานวิจัยแรกที่ทำให้ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่มีข้อมูลด้านนี้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกกฎหมายการกำกับดูแลธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติของภาคอุตสาหกรรมในประเทศได้อย่างปลอดภัยและกฎหมายที่จะใช้กำกับจะไม่เป็นภาระต่อภาคอุตสาหกรรมเพราะเป็นการออกกฎหมายการกำกับดูแลภายใต้ข้อมูลที่เป็นจริง
- งานวิจัยช่วยยกระดับความเป็นเลิศทางวิชาการด้านนี้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เนื่องจากได้มีการให้บริการทางวิชาการด้านการตรวจวิเคราะห์ธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติให้กับภาคอุตสาหกรรมแร่หนักและปิโตรเลียมของไทยรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง
- ผลงานวิจัยช่วยยกระดับด้าน ความปลอดภัย ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมทางด้านความปลอดภัยทางรังสีของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ
ความเข้มข้นกัมมันตภาพของนิวไคลด์ที่เกิดตามธรรมชาติในวัสดุของอุตสาหกรรมแร่ต่างๆของประเทศไทย (Natural Radionuclide Concentrations in Processed Materials from Thai Mineral Industries)
การวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจปริมาณความเข้มข้นกัมมันตภาพของธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติ คือ 226Ra และ 228Ra ในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลอยได้และกากของเสียที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมแร่ต่าง ๆของประเทศไทย การสำรวจพบว่ามีการสะสมของธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นธรรมชาติในระหว่างกระบวนการผลิตของแร่ธาตุบางชนิด โดยพบปริมาณของธาตุ 226Ra สูงถึง 7×107 Bq kg-1 ในตะกรันของอุตสาหกรรมถลุงแร่แทนทาลัม และพบความเข้มข้นกัมมันตภาพของเรเดียมในผลิตภัณฑ์พลอยได้ของอุตสาหกรรมแต่งแร่โลหะมีค่าสูงกว่าในสินแร่ 3-10 เท่า และพบระดับของความเข้มข้นของ226Ra ในฟอสโฟยิปซัมซึ่งเป็นกากที่ได้จากการผลิตปุ๋ยฟอสเฟตในระดับที่สูงกว่าสินแร่ฟอสเฟตประมาณ 700 เท่า ดังนั้น วัสดุที่ปนเปื้อนธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นธรรมชาติในระดับสูงเหล่านี้หากไม่มีการกำกับดูแลและการควบคุมที่ดีจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนมีโอกาสได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นได้
การจัดทำแผนที่อัตรากัมมันตภาพรังสีแกมมาจากผิวดินในพื้นที่ชุมชนด้วยวิธีการสำรวจทางรถยนต์ (Construction of Terrestrial Gamma-ray Dose Rate Map in Population Zones using Radiometric Car-borne Survey Technique)
ในช่วง ปี พศ. 2560-2562 ได้ทำการตรวจวัดรังสีแกมมาตามธรรมชาติในสิ่งแวดลอมตามเส้นทางถนนสายหลักที่เป็นพื้นที่ชุมชนใน 6 ภูมิภาคของประเทศไทย รวม 48 จังหวัด เป็นระยะทาง 15,000 กิโลเมตร เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (base line data) ด้วยวิธีการสำรวจทางรถยนต์ที่ได้ติดตั้งระบบวิเคราะห์รังสีแกมมาชนิดหัววัดเรืองแสงวาบ (Scintillation Detector, NaI(Tl)) ขนาด 3 นิ้ว (EMF211, EMF Japan Co., Osaka, Japan) ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยฮิโรซากิ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่าง่อเนื่องหลายสิบปีที่ผ่านมา อุปกรณ์วัดนี้เคยถูกใช้วัดปริมาณรังสีแกมมาในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาไดอิชิ เทคนิคการตรวจวัดด้วยนี้สามารถทำการสำรวจในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และได้สเปกตรัมพลังงานรังสีแกมมาจากสิ่งแวดล้อมที่สามารถแปลงเป็นค่าอัตราปริมาณรังสีสมมูลที่มนุษย์จะได้รับได้ และนำข้อมูล (จำนวน 44,565) มาแปลงเป็นแผนที่ ในการสำรวจนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างดินตามพื้นที่ที่สำรวจทั่วภูมิภาคของประเทศไทยมาวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นกัมมันตภาพของนิวไคลด์ 226Ra, 228Ra และ 40K และระบบการวิเคราะห์แบบแกมมาสเปกโตรเมตรี ณ ห้องปฏิบัติการที่ใช้หัววัดรังสีแบบเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและสนับสนุนการเตรียมพร้อมฉุกเฉินทางด้านรังสีของประเทศไทย จากการสำรวจพบว่าปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยในอากาศเรียงตามลำดับของค่าสูงสุด ดังนี้ ตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าอยู่ในช่วง 10-62 nGy/h, ภาคกลางมีค่าอยู่ในช่วง 14-106 nGy/h, ภาค ภาคตะวันตก 16-119 nGy/h, ภาคเหนือ 12-122 nGy/h, ภาคตะวันออก 8-127 nGy/h และ ภาคใต้ 16-141 nGy/h โดยพบว่าปริมาณรังสีดูดกลืนในอากาศสูงสุด 141 nGy/h ซึ่งมีค่าเท่ากับปริมาณรังสีสมมูลต่อปี (annual effective doses of) เท่ากับ 17.3 mSv. ที่ ตำบล โคกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
ปริมาณรังสีแกมมาภาคพื้นดินในเกาะภูเก็ตประเทศไทย (Terrestrial Gamma Radiation in Phuket Island, Thailand)
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินระดับกัมมันตภาพรังสีของเกาะภูเก็ตซึ่งเป็นจังหวัดที่เคยเป็นแหล่งแร่และมีการถลุงแร่ดีบุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากแร่ดีบุกเป็นแร่ที่มี NORM ปะปนอยู่มาก โดยได้ทำการสำรวจอัตราปริมาณรังสีแกมมาโดยรถยนต์ (gamma car-borne survey) ในเส้นทางเดินรถรอบเกาะภูเก็ตและในพื้นที่โรงแต่งแร่ดีบุกเก่า ผลการสำรวจพบว่าอัตราปริมาณรังสีของเกาะภูเก็ตอยู่ในช่วง 20-900 nGy h– 1 โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 190 nGy h– 1 และมีอัตราปริมาณรังสีแกมมาที่ได้รับจากการใช้ประโยชน์ของดินที่มีค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพสูงอยู่ในช่วง 25-520 nGy h– 1 หรือเท่ากับปริมาณรังสียังผล 0.03-0.6 mSv y– 1 ซึ่งยังมีค่าอยู่ในค่าปกติของรังสีพื้นหลังที่พบทั่วไป ส่วนผลการสำรวจโรงงานแต่งแร่ดีบุกเก่าพบว่ามีอัตราปริมาณรังสีแกมมาอยู่ในช่วง 110-17,170 nGy h– 1 โดยมีเฉลี่ยที่ 1,410 nGy h– 1 และมีอัตราปริมาณรังสีของตัวอย่างดินอยู่ในช่วง 590-206,080 nGy h– 1 หรือเท่ากับปริมาณรังสียังผล 0.7-250 mSv y– 1 ซึ่งนับว่าสูงกว่ารังสีพื้นหลังถึง 16 เท่า ดังนั้นพื้นที่ในโรงแต่งแร่ดีบุกเก่าจึงไม่เหมาะสมที่จะมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย
การจัดทำฐานข้อมูลของปริมาณรังสีและธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติใน พืช ผัก ผลไม้ บางชนิดบางพื้นที่ในภาคใต้ของประเทศไทย (Baseline Data of Naturally Occurring Radionuclides in Some Native Vegetables and Fruits in Southern Thailand)
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีที่เกิดตามธรรมชาติในพืช ผักและผลไม้พื้นเมืองที่ผลิตและบริโภคในพื้นที่ 4 จังหวัดทางภาคใต้ที่มีศักยภาพเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ของประเทศไทย ได้แก่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานีและนครศรีธรรมราช โดยได้ทำการวัดกัมมันตภาพของ 226Ra, 228Ra, 40K และ 210Po ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างพืช ผักและ ผลไม้พบว่ามีความเข้มข้นกัมมันตภาพในช่วง 1-34 Bqkg-1, 1-108 Bqkg-1, 32-4392 Bqkg-1 และ 0.2-47 Bqkg-1 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าต่ำกว่าในตัวอย่างดินที่ใช้เพาะปลูกและมีค่าไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์และสนับสนุนในการเตรียมพร้อมฉุกเฉินทางด้านรังสีของประเทศไทย และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้หากในอนาคตจะมีกิจกรรมหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทางนิวเคลียร์ เช่น เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดอาจขึ้นในพื้นที่เหล่านี้
สารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติในพืชเกษตรที่ลูกทางภาคเหนือของประเทศไทย (Natural Radionuclides in Agricultural Plants from Northern Thailand)
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภาคเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับสองในประเทศ ได้ทำการรวบรวมตัวอย่างพืชเจ็ดสิบเก้าตัวอย่างรวมทั้งผักผลไม้และยาสูบและดินที่เกี่ยวข้องจากพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญในภาคเหนือ ความเข้มข้นกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติในตัวอย่างถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแกมมาสเปกโตรเมตรี ความเข้มข้นกัมมันตภาพมัธยฐานของ 226Ra และ 228Ra ในตัวอย่างดินสูงกว่าค่ามัธยฐานที่มีรายงานของโลก ในขณะที่ค่าของ 40K นั้นอยู่ในช่วงเดียวกับค่าที่รายงานของโลก และมีค่าที่มีการกระจายที่ไม่สม่ำเสมอ ส่วนความเข้มข้นกัมมันตภาพของ 226Ra, 228Ra และ 40K ในตัวอย่างพืชมีความแตกต่างกันอย่างมากในระหว่างพืชชนิดเดียวกัน และต่างชนิดกัน และมีค่ากัมมันตภาพต่ำกว่าที่พบในดินที่ใช้ปลูกมาก พบความเข้มข้นกัมมันตภาพมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ ดังนี้ ใบ> ลำต้น> เหง้า / ราก (ข่า) และใบ> ก้าน / ลำต้น (ตะไคร้)
การตรวจหาบริเวณที่มีการซึมของน้ำใต้ดินเข้าสู่คลอต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครโดยใช้สารรังสีตามธรรมชาติ เรดอนและโทรรอน (Prospecting for Groundwater Discharge in the Canals of Bangkok via Natural Radon and Thoron)
งานวิจัยนี้มีสมมติฐานว่า น้ำใต้ดินตื้นอาจมีส่วนพัดพาสิ่งปนเปื้อนหรือมลพิษเข้าสู่นำผิวดิน จึงได้นำเทคนิคทางนิวเคลียร์มาประยุกต์ใช้ในงานสิ่งแวดล้อมทางน้ำ โดยได้ทำการล่องเรือในคลองต่าง ๆในกรุงเทพมหานครเพื่อสำรวจปริมาณธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติ คือ ธาตุเรดอน (222Rn) และโทรรอน (220Rn) ที่ปกติจะมีปริมาณสูงในน้ำใต้ดินมากกว่าในน้ำผิวดินดังนั้น จึงถูกนำมาใช้เป็นตัวติดตามตามธรรมชาติ (natural tracer) ได้ ปริมาณเรดอนจะถูกนำมาประเมินปริมาณการซึมด้วยวิธีการสมดุลมวลสาร (mass balance) ส่วนโทรอนซึ่งมีค่าครึ่งชีวิตสั้นมากคือ 56 วินาทีจะใช้ระบุบริเวณที่มีการซึมของน้ำใต้ดินเข้าสู่คลอง นั่นคือ หากบริเวณใดตรวจวัดพบโทรอนแสดงว่าบริเวณนั้นอยู่ใกล้จุดที่มีการซึมของน้ำใต้ดินตื้นเข้าสู่คลอง การใช้ผลของการตรวจวัดเรดอนและโทรอนร่วมกันจึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน
ประสบการณ์ในการใช้ข้อมูลเรดอนและโทรอนเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและในน้ำ (Experience in Using Radon and Thoron Data to Solve Environmental and Water Problems)
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ริเริ่มใช้โทรอน (220Rn) ซึ่งเป็นไอโซโทปที่เกิดขึ้นธรรมชาติมาเป็นตัวติดตามการซึมของน้ำใต้ดินเข้าสู่คลองในกรุงเทพฯ ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้ได้ใช้เรดอนกัมมันตรังสี (222Rn) และพบว่าน้ำใต้ดินตื้น (shallow ground water, SGW) เป็นทางเดินที่สำคัญของสารอาหารที่ปนเปื้อนเข้าสู่น้ำพื้นผิว การศึกษาพบว่าการที่โทรอนมีค่าครึ่งชีวิตสั้นมาก (56วินาที) กว่าเรดอน (3.84 วัน) ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่มีการซึมของน้ำใต้ดินได้อย่างแม่นยำมากกว่าเรดอน ผลการสำรวจโดยวัดโทรอนในคลองของกรุงเทพฯ พบว่าโทรอนมีการแพร่ที่ชัดเจนซึ่งต่างจากการแพร่ที่ตรวจพบของเรดอน
การติดตามแหล่งกำเนิดมลพิษใต้ดินสู่น่านน้ำชายฝั่งนอกมาบตาพุดระยองประเทศไทย (Tracing underground sources of pollution to coastal waters off Map Ta Phut, Rayong, Thailand)
ได้สำรวจเส้นทางการไหลของน้ำใต้ดินที่ไหลออกสู่ชายฝั่งทะเลที่ “submarine groundwater discharge (SGD) ” จะมีความเป็นไปได้ที่อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนชายฝั่งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้ทำการสำรวจสามครั้งเพื่อทำแผนที่บรเวณน้ำใต้ดินที่บริเวณชายฝั่งโดยใช้สารกัมมันตรังสีเรดอนและโทรอนซึ่งเป็นตัวติดตามตามธรรมชาติ และจากความเค็ม ผลลัพธ์จากการสำรวจทั้งสามครั้งพบมีความสอดคล้องกันโดยพบเส้นทางเดินของน้ำใต้ดินระหว่างบกและทะเลอยู่บริเวณที่อยู่ใกล้กับท่าเรือขนาดใหญ่ อาจเป็นไปได้ว่าเสาเข็มที่ขุดลงไปในพื้นดินเพื่อรองรับท่าเรือได้ทะลุถึงเส้นทางน้ำใต้ดิน นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าตัวอย่างดินตะกอนที่เก็บมามีความหนาแน่นต่ำและมีความเข้มข้นกัมมันตภาพของเรเดียมสูงกว่าดินบริเวณอื่น ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจมาจากเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียง พารามิเตอร์คุณภาพน้ำแสดงให้เห็นว่าปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนทั้งหมด (TPHs) มีความสัมพันธ์อย่างมากกับไนไตรต์ สารละลายอนินทรีย์ ฟอสเฟตและซิลิกาซึ่งบ่งบอกว่าทั้งหมดมีแหล่งที่มาร่วมกัน
การวัดขนาดการกระจายของลูกหลานเรดอนและโทรอน และการประเมินปริมาณรังสีได้ได้รับในอุตสาหกรรมแร่ของประเทศไทย (Measurement of Radon and Thoron Progeny Size Distributions and Dose Assessments at the Mineral Treatment Industry in Thailand.)
เนื่องจากขนาดของอนุภาคของธาตุลูกหลานของเรดอนและโทรอนในอากาศมีผลต่อสุขภาพทางรังสีของมนุษย์ การวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาระบบอิมแพคเตอร์พกพาแบบใหม่และที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้วัดการกระจายขนาดของอนุภาคของธาตุลูกหลานของเรดอนและโทรอนในโรงงานและในสภาพแวดล้อมทั่วไป ระบบอิมแพคเตอร์นี้ประกอบด้วย 4 ชั้น ที่มีแผ่นกรองสำรองสำหรับการเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง และสามารถเก็บขนาดฝุ่นละอองขนาด 10, 2.5, 1 และ 0.5 ไมครอน ตามลำดับ และใช้ฟิล์ม CR-39 เป็นหัววัดรังสีแอลฟา พลังงานของรังสีแอลฟาที่แผ่มาจากธาตุลูกหลานเรดอนและโทรอนจะถูกลดทอนด้วยแผ่นฟิล์มอลูมิเนียมไมลาร์ที่ความหนาต่าง ๆ และได้นำระบบที่พัฒนานี้ไปทดสอบภายในโรงงานอุตสาหกรรมแร่แห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยพบว่าค่ามัธยฐานพลศาสตร์ของเส้นผ่านศูนย์กลาง (activity median aerodynamic diameter) มีบทบาทสำคัญต่อการกระจายขนาดของอนุภาคของลูกหลานเรดอนและโทรอนที่เกาะติดมากับฝุ่นละออง
การหาปริมาณเรดอนที่มีอยู่ในก๊าซธรรมชาติ (Determination of Radon Gas in Natural Gas Pipelines)
เป็นที่ทราบกันดีว่าธาตุลูกหลานที่สลายตัวจากธาตุกัมมันตรังสีเรดอนมีอันตรายต่อสุขภาพทางรังสีต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไป จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อทำการพัฒนาวิธีการในการเก็บและการวิเคราะห์ธาตุกัมมันตรังสีเรดอนจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมโดยใช้วิธีการดูดซับบนถ่านกัมมันต์ โดยได้ทำการออกแบบวิธีการเก็บตัวอย่างก๊าซ 2 วิธีตามพื้นที่ศึกษา วิธีที่หนึ่งสำหรับเก็บตัวอย่างก๊าซแบบต่อเนื่องโดยต่อตรงจากท่อผลิตที่ฐานผลิตก๊าซธรรมชาติบนบก (on shore) วิธีที่สองสำหรับเก็บตัวอย่างก๊าซที่ฐานผลิตผลิตก๊าซธรรมชาติในทะเล (off shore) ซึ่งต้องเก็บใช้ถังก๊าซเป็นตัวอย่างเป็นชุด ๆ (batch) ความเข้มข้นกัมมันตภาพของเรดอนวิเคราะห์โดยเทคนิคแกมมาสเปกโตรมิตรีในห้องปฏิบัติการ ผลของงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อชีวอนามัย ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของพนักงานและยกระดับตามมาตรฐานอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของไทยให้เทียบเท่าสากล
ออกแบบและสร้างเครื่องสำรวจปริมาณรังสีชนิดพกพาแบบ Telescopic radiation survey
เครื่องสำรวจปริมาณรังสีชนิดพกพาแบบ Telescopic radiation survey ที่จะพัฒนาขึ้นประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนตรวจวัดรังสี (Detection) และส่วนระบบวัดรังสี (Measurement system) โดยแผนภาพส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่อง ฯ แสดงดังรูป